วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg)




เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg)

Bundesarchiv Bild183-R57262, Werner Heisenberg.jpg



เกิด  แวร์เนอร์ คาร์ล ไฮเซนแบร์ก
5 ธันวาคม ค.ศ. 1901
วูร์ซเบิร์ก ประเทศเยอรมัน
เสียชีวิต  1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976 (74 ปี)
มิวนิค ประเทศเยอรมัน
เชื้อชาติ เยอรมัน
สาขาวิชา  ฟิสิกส์
สถาบันที่อยู่  มหาวิทยาลัยกอตติงเกน
มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน
University of Leipzig
มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน
มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์
มหาวิทยาลัยมิวนิก
Heisenberg's microscope
กลศาสตร์เมทริกซ์
Kramers-Heisenberg formula
Heisenberg group
Isospin
สร้างแรงบันดาลใจให้กับ  Robert Döpel
Carl Friedrich von Weizsäcker
เกียรติประวัติ  รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี พ.ศ. 2475
เหรียญรางวัลมักซ์ พลังค์ พ.ศ. 2476
หมายเหตุ  เขาเป็นบิดาของ มาร์ติน ไฮเซนแบร์ก นักประสาทวิทยา และเป็นบุตรของ ออกัสต์ ไฮเซนแบร์ก
แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก (เยอรมันWerner Heisenberg5 ธันวาคม พ.ศ. 2444-1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมันซึ่งเป็นหนึ่งในผู้วางหลักการพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้คิดค้นหลักความไม่แน่นอนของทฤษฎีควอนตัม นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสาขาวิชาฟิสิกส์นิวเคลียร์ ทฤษฎีสนามควอนตัม และฟิสิกส์อนุภาค
ไฮเซนแบร์ก ร่วมกับมักซ์ บอร์น และ พาสควอล จอร์แดน ได้ร่วมกันวางหลักการของเมทริกซ์เพื่อใช้ในกลศาสตร์ควอนตัมในปี พ.ศ. 2468 ไฮเซนแบร์กได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2475
หลังจากที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ขึ้นสู่อำนาจในปี พ.ศ. 2476 ไฮเซนแบร์กก็ถูกสื่อมวลชนโจมตีในฐานะผู้ริเริ่มเคลื่อนไหว deutsche Physik (ฟิสิกส์เยอรมัน) ต่อมาเขาถูกหน่วย Schutzstaffel สอบสวน และกลายเป็นคดีไฮเซนแบร์กโดยกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้สืบทอดของ อาร์โนลด์ ซอมเมอร์เฟลด์ แห่งมหาวิทยาลัยมิวนิก ปี พ.ศ. 2481 เฮนริค ฮิมม์เลอร์ หัวหน้าหน่วย Schutzstaffel จึงได้คลี่คลายคดีนี้ ไฮเซนแบร์กไม่ได้เป็นผู้สืบทอดของซอมเมอร์เฟลด์ และกอบกู้ชื่อเสียงกลับคืนในวงการนักฟิสิกส์ของอาณาจักรไรค์ที่สาม
ปี พ.ศ. 2482 โครงการพลังงานนิวเคลียร์ของเยอรมัน หรือที่รู้จักอย่างไม่เป็นทางการในชื่อ คลับยูเรเนียม ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของกรมสรรพาวุธแห่งเยอรมนี ครั้นถึง พ.ศ. 2485 การควบคุมโครงการก็ตกอยู่ในมือของสภาวิจัยแห่งไรค์ (Reich Research Council) ตลอดระยะเวลาของโครงการทั้งหมดนี้ ไฮเซนแบร์กเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการ 9 คนที่ดูแลและพัฒนางานวิจัยในโครงการ พ.ศ. 2485 ไฮเซนแบร์กได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายปกครองของสถาบันฟิสิกส์ไกเซอร์ วิลเฮล์ม
ไฮเซนแบร์กถูกจับกุมพร้อมนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันรวม 10 คนในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างปฏิบัติการ Alsos ของสหรัฐอเมริกา เขาถูกควบคุมตัวอยู่ในประเทศอังกฤษตั้งแต่พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ถึง มกราคม พ.ศ. 2489
เมื่อไฮเซนแบร์กได้กลับคืนสู่เยอรมนี เขาตั้งรกรากที่เมืองกอตติงเกนในย่านอยู่อาศัยของชาวอังกฤษ และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ไกเซอร์ วิลเฮล์ม ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันฟิสิกส์มักซ์ พลังค์ ไฮเซนแบร์กดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการที่สถาบันแห่งนี้จนกระทั่งสถาบันย้ายไปอยู่เมืองมิวนิกในปี พ.ศ. 2501 เนื่องจากการขยายขอบเขตงานและเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันฟิสิกส์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์มักซ์ พลังค์เขาได้เป็นผู้อำนวยการร่วมกับ ลุดวิก เบียร์มานน์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นจึงได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันตั้งแต่ พ.ศ. 2503-2513
ไฮเซนแบร์ก ยังได้เป็นประธานสภาวิจัยแห่งเยอรมัน ประธานคณะกรรมาธิการฟิสิกส์อะตอม ประธานคณะทำงานฟิสิกส์นิวเคลียร์ และประธานมูลนิธิอเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮัมโบลด์
ปี พ.ศ. 2500 ไฮเซนแบร์กเป็นผู้ลงนามในคำแถลงการณ์กอตติงเกน (Göttingen Manifesto) ซึ่งเป็นคำประกาศจากนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชั้นแนวหน้าแห่งเยอรมันตะวันตก 18 คน ที่ต่อต้านการติดอาวุธกองทัพเยอรมันตะวันตกด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้านยุทธวิธ

รางวัลและเกียรติยศ


ไฮเซนแบร์กได้รับรางวัลจำนวนมาก ตัวอย่างดังต่อไปนี้:[1]
  • ดุษฎีบัณฑิตกิติมศักด์ จากมหาวิทยาลัย Bruxelles, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Karlsruhe, และมหาวิทยาลัยบูดาเปสต์
  • Order of Merit of Bavaria
  • Romano Guardini Prize[2].
  • Grand Cross for Federal Service with Star
  • Knight of the Order of Merit (Peace Class)
  • สมาชิกของ Royal Society แห่งลอนดอน
  • สมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งกอตติงเกน, บาวาเรีย, แซกโซนี, ปรัสเซีย, สวีเดน, โรมาเนีย, นอร์เวย์, สเปน, เนเธอร์แลนด์, โรม (Pontifical), สมาคมวิทยาศาสตร์ลีโอโปลดินาแห่งเยอรมัน (Deutsche Akademie der Naturforscher Leopoldina) (Halle), the Accademia dei Lincei (Rome), และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกา
  • พ.ศ. 2475 – รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ "สำหรับการสร้างสรรค์กลศาสตร์ควอนตัมและวิธีการนำไปใช้ ซึ่งเปิดเส้นทางสู่การค้นพบรูปแบบแท้จริงของไฮโดรเจน"[3]
  • พ.ศ. 2476 –เหรียญรางวัลมักซ์ พลังค์ จาก Deutsche Physikalische Gesellschaf




 นส.ปรียานุช ศรีแก้ว เลขที่23 นส.อริสา ศุภผุชต์ เลขที่ 26


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น